งานเขียน ของ เค็นซาบูโร โอเอะ

งานเขียนของโอเอะแบ่งได้เป็นหลายหัวข้อ โอเอะให้คำอธิบายไม่นานหลังจากที่ได้ข่าวว่าจะได้รับรางวัลโนเบลว่า “ผมกำลังเขียนเกี่ยวกับความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์”[4]

หลังจากงานเขียนเมื่อยังเป็นนักศึกษาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแล้ว ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 โอเอะก็เขียนงานหลายชิ้น (เช่น “Prize Catch” และ “ฆ่ามันซะ! อย่าให้มันโต” (Nip the Buds, Shoot the Kids)) ที่เน้นถึงชีวิตของเด็กน้อยที่อยู่บนเกาะชิโกกุในโลกของโอเอะระหว่างที่เติบโตขึ้นมา[5] ต่อมาโอเอะกล่าวว่าเด็กที่เขียนถึงเป็นแม่แบบ (archetype) ของความเป็นเด็ก (Child archetype) ของนักจิตวิทยาคาร์ล ยุง (Carl Jung) และ นักเทพวิทยากรีกคาร์ล เคเรยี (Karl Kerényi) ที่เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง, เป็นได้ทั้งหญิงและชาย (hermaphrodism), ไม่เปลี่ยนแปลง และ มีความสัมพันธ์กับการเริ่มต้นและการสิ้นสุด[6] ลักษณะสองอย่างแรกปรากฏในงานเขียนในช่วงแรก ส่วนอีกสองลักษณะมาปรากฏในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับ 'idiot boy' ที่เขียนต่อมาหลังจากการเกิดของฮิการิ[7]

ระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึงปี ค.ศ. 1961 โอเอะพิมพ์งานหลายเล่มที่ผสานอุปมาทางเพศเกี่ยวกับการยึดครองญี่ปุ่น ที่โอเอะสรุปว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นหัวเรื่องของ “ความสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างประเทศในฐานะผู้มีอำนาจ [Z], ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในเชิงภาวะที่ต่ำต้อย [X] และระหว่างชนสองชั้นก็จะเป็นกลุ่มที่สาม [Y] (ที่อาจจะเป็นโสเภณีที่รับงานเฉพาะจากคนต่างชาติหรือผู้แปล)”[8] ในงานแต่ละชิ้นชาวญี่ปุ่น [X] จะเฉื่อยชา ไม่แสดงความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหา หรือไม่แสดงการพัฒนาทางจิตใจและจิตวิญญาณ[9] การบรรยายเรื่องเพศอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องต่างๆ ที่เขียนก่อให้เกิดการวิจารณ์กันอย่างขนานใหญ่ ซึ่งมาถึงจุดสูงสุดในเรื่อง “Our Times” ที่โอเอะกล่าวว่า “ตัวผมเองชอบนวนิยายเรื่องนี้[เพราะ]ผมไม่คิดว่าผมจะสามารถเขียนนวนิยายเรื่องอื่นที่เต็มไปด้วยคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศเท่านั้นได้อีก”[10]

ช่วงต่อมาโอเอะก็เปลี่ยนจากเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศไปเป็นเรื่องของความโหดร้ายของสังคม งานที่พิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1961 ถึงปี ค.ศ. 1964 เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมเชิงอัตถิภาวนิยม และ เชิงผจญภัย (Picaresque) ของ“ผู้ร้าย” (criminal rogue) และอวีรบุรุษ (Antihero) ผู้อยู่ริมนอกของสังคม (fringe of society) ที่ทำให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเสนอข้อวิจารณ์สังคมได้[11] การที่โอเอะยอมรับว่า “ฮัคผจญภัย” โดยมาร์ค ทเวนเป็นนวนิยายเรื่องที่ชอบมากที่สุดทำให้เห็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นในบริบทของการเขียนในช่วงระยะเวลานี้[12]

ฮิการิมีอิทธิพลเป็นอย่างมากใน “Father, Where are you Going?” (ไทย: พ่อ, พ่อจะไปไหน?), “Teach Us to Outgrow Our Madness” (ไทย: สอนเราให้หายจากความคลั่ง) และ “The Day He Himself Shall Wipe My Tears Away” (ไทย: จนจะถึงวันที่ลูกจะลบน้ำตาพ่อ) นวนิยายสามเรื่องที่เขียนจากมูลฐานเดียวกัน—บิดาผู้มีบุตรที่พิการพยายามที่จะสร้างชีวิตใหม่ให้กับพ่อของตนเองผู้ขังตัวเองจนตาย ความขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพ่อของตัวเอกเปรียบเทียบได้กับความไม่สามารถของลูกที่ไม่อาจจะเข้าใจตัวของเขาเองได้ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับพ่อของตนเองทำให้ยากต่อทำให้ลงตัว และสามารถทำให้สร้างความซ้ำซ้อนได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และ “ความซ้ำซ้อนเป็นกระสายของการเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้นได้”[13] โดยทั่วไปแล้วโอเอะเชื่อว่านักเขียนนวนิยายจะเขียนนวนิยายที่กระตุ้นจินตนาการของผู้อ่านอยู่เสมอ[1]

Teach Us to Outgrow Our Madness” ใช้ตัวละครชื่อ 'โมริ' สำหรับ 'ลูกงี่เง่า' (โอเอะใช้คำว่า 'idiot-son') ที่แปลได้ทั้ง 'ตาย' และ 'โง่เง่า' ในภาษาลาติน และ 'ป่า' ในภาษาญี่ปุ่น.ความเกี่ยวพันระหว่างเด็กพิการและป่ามาปรากฏขึ้นอีกในงานเขียนต่อมา เช่นในเรื่อง “The Waters Are Come in unto My Soul” (ไทย: และสายน้ำก็จะหลั่งไหลเข้ามาในวิญญาณของฉัน) และ “M/T and the narrative about the marvels of the forest” (ไทย: เอ็ม/ที และการบรรยายเกี่ยวกับความตื่นตาของป่า)

โอเอะเชื่อว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่นที่แท้จริง โดยกล่าวว่า “ผมมีความต้องการอยู่เสมอที่จะเขียนเรื่องราวของประเทศของเราเอง, สังคมของเราเอง และความรู้สึกเกี่ยวกับสถานะภาพของสังคมร่วมสมัย แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างเป็นอย่างมากระหว่างวรรณกรรมร่วมสมัยและวรรณกรรมโบราณของญี่ปุ่น” ในปี ค.ศ. 1994 โอเอะอธิบายว่าตนเองมีความภูมิใจที่สถาบันสวีเดนให้เกียรติแก่วรรณกรรมญี่ปุ่นและมีความหวังว่ารางวัลที่ได้รับนี้จะเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมนักเขียนญี่ปุ่นผู้อื่น[4]

นวนิยายขนาดสั้น “The Catch” (ไทย: จับได้) มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักบินชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่ถูกยิงตกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองโดยชาวบ้านชาวญี่ปุ่นได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยนางิซะ โอชิมะและออกฉายในปี ค.ศ. 1961

การหยุดเขียน

โอเอะหยุดเขียนไปสองปีขณะยุ่งอยู่กับการถูกฟ้องร้องและการพิจารณาคดีระหว่างปี ค.ศ. 2006 ถึงปี ค.ศ. 2008 The New York Timesรายงานว่าโอเอะกำลังเริ่มเขียนนวนิยายเรื่องใหม่ที่มีตัวละครที่มืพื้นฐานมาจากบิดาของตนเอง ผู้เป็นผู้สนับสนุนระบบจักรพรรดิอย่างแข็งขันผู้จมน้ำตายระหว่างน้ำท่วมระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวละครอีกตัวหนึ่งที่อาจจะมีเป็นหญิงสาวร่วมสมัยผู้ “ไม่ยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น” และในฉากหนึ่งถึงกับพยายามทำลายระบบจักรพรรดิ[14] ในนวนิยายเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับงานเขียนอื่น โอเอะเป็นปรมาจารย์ในการใช้วลีญี่ปุ่นที่กำกวม และเขียนเนื้อหาที่ไม่จะแจ้งว่าดีหรือร้ายแต่จะคาบระหว่างปรัชญาทั้งสอง[15]

รางวัลและอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เค็นซาบูโร โอเอะ http://books.google.com/books?id=2jhGkLyWN8cC&dq=h... http://books.google.com/books?id=2jhGkLyWN8cC&prin... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9C0... http://select.nytimes.com/mem/archive/pdf?res=F10A... http://travel.nytimes.com/2008/01/20/travel/20next... http://www.nytimes.com/2008/03/29/world/asia/29jap... http://www.nytimes.com/2008/05/17/world/asia/17oe.... http://www.kirjasto.sci.fi/oe.htm http://www.yomiuri.co.jp/dy/national/20080518dy01.... http://japanfocus.org/products/details/2760